ยินดีต้อนรับเข้าสู่ BLOG กลุ่ม friends

เชิญเข้าไปอัพเดทและแสดงความคิดเห็นได้เลยค่ะ

12 สิงหาคม 2551

........ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้บริโภคในการซื้อสินค้าหรือบริการ
-ข้อควรปฏิบัติหลังจากซื้อสินค้าหรือบริการ
ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการใช้ความระมัดระวังตามสมควร ในการซื้อสินค้าหรือบริการ ได้แก่ การให้ความสำคัญฉลากของสินค้าและการโฆษณาสินค้าหรือบริการ
1.ผู้บริโภคต้องตรวจดูฉลากของสินค้า เพื่อเป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบสินค้าแต่ละยี่ห้อ ก่อนตัดสินใจเลือกสินค้าฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากจะต้องระบุข้อความดังต่อไปนี้
- ชื่อประเภท หรือชนิดของสินค้าที่แสดงให้เข้าใจ ได้ว่าสินค้านั้นคืออะไร ในกรณีที่เป็นสินค้าสั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายให้ระบุชื่อประเทศที่ผลิตด้วย
- ชื่อหรือเครื่องหมายการค้า ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ของผู้ผลิตเพื่อขายในประเทศไทย
- ชื่อหรือเครื่องหมายการค้า ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ของผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
- สถานที่ตั้งของผู้ผลิตเพื่อขาย หรือของผู้สั่งหรือผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายแล้วแต่กรณี
- ต้องแสดงขนาดหรือมิติหรือปริมาณหรือปริมาตรหรือน้ำหนักของสินค้านั้นแล้วแต่กรณี สำหรับหน่วยที่ใช้จะใช้ชื่อเต็มหรือชื่อย่อหรือสัญลักษณ์
- ต้องแสดงวิธีใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าสินค้านั้นใช้เพื่อสิ่งใด
- ข้อแนะนำในการใช้หรือห้ามใช้ เพื่อความถูกต้องในการที่ให้ประโยชน์แก่ผู้บริโภค
- วันเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดอายุการใช้ หรือวันเดือนปีที่ควรใช้ก่อน วันเดือนปีที่ระบุนั้น เพื่อให้เข้าใจในประโยชน์ของคุณภาพหรือคุณสมบัติของสินค้านั้น (ถ้ามี)
- ราคาโดยระบุหน่วยเป็นบาท และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่นก็ได้
2. สอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ คุณภาพของสินค้าจากผู้ขาย หรือผู้ที่เคยใช้สินค้านั้นแล้ว
3. ศึกษาเงื่อนไข หรือข้อจำกัดของสินค้า เช่น วัน เดือน ปี ที่ผลิตหรือหมดอายุ วิธีการใช้ การเก็บรักษา คำเตือนหรือข้อควรระวังของสินค้าให้เข้าใจอย่างท่องแท้ เพื่อผู้บริโภค สมารถใช้สินค้าได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพ และ ประหยัด
4. ร้องขอให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบคุณภาพ และปริมาณของสินค้าว่าเป็นจริง ตามที่ระบุไว้ที่ฉลากของสินค้าหรือไม่ เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพและเป็นธรรม แก่ผู้บริโภค
5. ผู้บริโภคอย่าด่วนหลงเชื่อคำโฆษณาของสินค้า หรือบริการ ต้องศึกษาเงื่อนไขรายละเอียดอื่น ๆ ของตัวสินค้า หรือ บริการที่อาจไม่ได้ระบุไว้ในการโฆษณา เนื่องจากการโฆษณาสินค้าหรือบริการ ของผู้ประกอบธุรกิจ ส่วนใหญ่จะเสนอแต่ข้อดีและเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคส่วนข้อเสีย มักจะไม่กล่าวถึงในการโฆษณา จึงจำเป็นที่ผู้บริโภคต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม จากการสอบถามผู้ขาย หรือบริษัทผู้ผลิต
ข้อความโฆษณาต่อไปนี้ ถือว่าเป็นข้อความเป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสังคมเป็นส่วนรวม
- ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง
- ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำ โดยใช้ หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการสถิติหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเป็นความจริง หรือเกินความจริงหรือไม่ก็ตาม
- ข้อความที่เป็นการสนับสนุน โดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมาย หรือศีลธรรม หรือนำไปสู่ความเสื่อมเสีย ในวัฒนธรรมของชาติ - ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยก หรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน
- ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนด ในกระทรวงที่ ผู้ประกอบธุรกิจต้องระบุข้อความให้ครบถ้วน หากฝ่าฝืนมีโทษตามกฎหมาย ข้อควรปฏิบัติหลังจากซื้อสินค้าหรือบริการ
...... ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการเก็บรักษาพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่แสดงถึง การละเมิดสิทธิของผู้บริโภคไว้ เพื่อการเรียกร้องตามสิทธิของตน พยานหลักฐานดังกล่าว อาจเป็นสินค้าที่แสดงให้เห็นว่ามีปริมาณ หรือคุณภาพไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ที่ระบุไว้ในฉลาก มีความสกปรก หรือมีพิษที่ก่อให้เกิดอันตราย ควรจำสถานที่ซื้อสินค้าหรือบริการนั้นไว้ เพื่อประกอบการ้องเรียน และต้องเก็บเอกสารโฆษณา และใบเสร็จรับเงินเอาไว้ด้วย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคขึ้น ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการดำเนินการร้องเรียน ตามสิทธิของตน โดยร้องเรียนไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสินค้าหรือบริการนั้นหรือร้องเรียนมาที่สำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคต่างจังหวัดร้องเรียนที่คณะอนุกรรมการการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด
การเตรียมตัวเพื่อร้องทุกข์สำหรับผู้บริโภค

ขอขอบคุณเว็บไซท์ http://www.decha.com/main/main.php

เว็บน่ารู้เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค

เราไปหาเว็บไซท์ที่คุ้มครองผู้บริโภคมา
1. ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอางค์ เครื่องมือแพทย์ วัตถุเสพติด วัตถุมีพิษ
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
http://www.fda.moph.go.th/
2. ไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านการรักษาพยาบาลหรือบริการของแพทย์
สำนักงานแพทย์สภา
http://www.tmc.or.th/
3. บริการสถานพยาบาลเอกชน (คลีนิกลดความอ้วน โพลีคลีนิก โรงพยาบาลเอกชน)
กองประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข
http://mrd-hss.moph.go.th/home/
4. ราคาสินค้า การกักตุนสินค้า ไม่ติดป้ายราคา มาตราชั่ง ตวง วัด คุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น
กรมการค้าภายใน
http://www.dit.go.th/
5. พานิชอิเล็กทรอนิกส์
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
http://www.dbd.go.th/
6. การประกันภัยประเภทต่างๆ
กรมการประกันภัย
http://www.doi.go.th/
7. คุณภาพและมาตราฐานของผลิตภัณฑ์
สำนักงานมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
http://www.tisi.go.th/
8. สอบถาม ร้องเรียน การอนุญาตจัดสรรที่ดิน
กองควบคุมธุรกิจที่ดิน กรมที่ดิน
http://www.dol.moi.go.th/
9. คดีด้านเศรษฐกิจ
กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี
http://www.ecotecpolice.com/
10. ด้านการท่องเที่ยว
สำนักงานตำรวจท่องเที่ยว
http://home.touristpolice.net/
11. ด้านการขนส่งมวลชน
- ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ขนส่งมวลชน กรุงเทพฯ- กระทรวงคมนาคม
- http://www.bmta.co.th/- http://portal.mot.go.th/
12. ไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านการปกครอง
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
http://www.dopa.go.th/

ขอขอบคุณเว็บไซท์ http://www.ocpb.go.th/ucan.asp

05 สิงหาคม 2551

สิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

.....รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ให้ความสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภค โดยบัญญัติถึงสิทธิของผู้บริโภคไว้ในมาตรา 57 ว่า“สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ” พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 5 ประการ ดังนี้
1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม
2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความ สมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว
4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว

ขอขอบคุณเว็บไซท์
http://www.ocpb.go.th/list_complain.asp

16 กรกฎาคม 2551

คุ้มครองผู้บริโภคสั่งห้ามขายเครื่องทำน้ำเย็นที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อถังน้ำเป็นการชั่วคราว

....สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่ รับแจ้งจากนางรัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่า ปัจจุบันมีการใช้เครื่องทำน้ำเย็นอย่างแพร่หลายในสถานที่ต่างๆเช่นสถานศึกษา และสถานประกอบการ โดยมีทั้งแบบเครื่องทำน้ำเย็นที่ผลิตอย่างถูกต้อง ปลอดภัย และเครื่องที่ผลิตด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้องด้วยการใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อของตะเข็บถังน้ำหรือท่อส่งน้ำ ทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารตะกั่วในน้ำดื่มที่บรรจุในเครื่องทำน้ำเย็นดังกล่าว ซึ่งมีรายงานผลการสำรวจและตรวจพิสูจน์น้ำดื่มในเครื่องทำน้ำเย็นในสถานศึกษาในหลายจังหวัดของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบการปนเปื้อนของสารตะกั่วในน้ำดื่มเกินมาตรฐานความปลอดภัยของกระทรวงสาธารณสุข และองค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนในวัยเจริญเติบโต
เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายและคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สิ้นค้าดังกล่าว คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงมีคำสั่งที่ 10/2550 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2550 เรื่องห้ามขายเครื่องทำน้ำเย็นที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อของตะเข็บถังน้ำหรือท่อส่งน้ำเป็นการชั่วคราว จนกว่าคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจะมีคำสั่งยกเลิก โดยรวมถึงการให้เช่า ให้เช่าซื่อ หรือจัดหาให้ไม่ว่าด้วยประการใด โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น ตลอดจนการเสนอหรือชักชวนเพื่อการดังกล่าว และให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งประสงค์จะขาย ผลิต สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายเครื่องทำน้ำเย็นที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อม ทำการติดต่อกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อดำเนินการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าดังกล่าว ว่าสินค้านั้นไม่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค จึงขอประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน
ขอขอบคุณเว็บไซท์ http://www.prdnorth.in.th/ct/news/viewnewsN.php?ID=071031111438

......จากข่าวด้านบนกลุ่มเรามีความคิดเห็นว่าองค์การคุ้มครองผู้บริโภคทำถูกแล้ว เป็นการคุ้มครองที่แก้แต่ต้นเหตุ เพื่อที่จะไม่ได้ไปเกิดอันตรายแก่ผู้อื่นอีกต่อไป อยากจะขอให้ทำอย่างนี้อีกต่อไป อย่างน้อยผู้บริโภคก็จะได้อุ่นใจ ที่องค์การเล็งเห็นหนทางแก้ไข

ในปัจจุบันสิทธิของผู้บริโภคที่ได้รับอยู่เป็นอย่างไร?

.....กลุ่มเรามีความคิดเห็นว่ากฏหมายก็ออกมาอย่างชัดเจน อยู่แต่ไม่ครอบคลุมได้ทั่วถึง อีกทั้งมีข้อจำกัดมากมาย เมื่อมีกฏหมายที่จะเอาผิดกับผู้ประกอบการได้ก็จริง คือการฟ้องร้อง แต่ฟ้องร้องไปก็ถูกฟ้องกลับซะงั้น โดยที่เราต้องการเรียกร้องสิทธิแต่กลับถูกฟ้องกลับ เพราะเหตุนี้จึงไม่ค่อยมีผู้บริโภคท่านใดที่จะกล้าเอาผิดกับผู้ประกอบการอีก อยากให้มีกฏหมายเอาผิดที่ครอบคลุมกว่านี้
....เพื่อนๆมีความคิดเห็นอย่างไรก็ทิ้งไว้ได้นะคะ

สรุปสิทธิของผู้บริโภคในสังคมไทย...โดย กลุ่ม friends

ในความคิดของกลุ่มพวกเราจะสรุปตามที่กฏหมายของรัฐธรรมนูญตราไว้อย่างง่ายก็ คือ
1)สิทธิที่ผู้ซื้อจะได้รับรู้ความจริงหรือข้อมูลจริงๆของโฆษณาสิ่นค้าที่เราจะซื้อ ถ้าโฆษณาเกินจริงอาจจะทำให้เราหลงผิดซื้อได้
2)สิทธิในการเลือกซื้อโดยโดยที่เราสนใจจะซื้อจริงๆโดยไม่ถูกบังคับ
3)สิทธิในการได้รับความปลอดภัย ก็คือ สินค้าที่นำมาขายให้เราซื้อนั้นจะต้องมีความปลอดภัยอย่างแน่นอน ถ้ามีข้อห้ามหรือข้อควรระวังก็ต้องอ่านให้ดีก่อน
4)สิทธิในการทำสัญญา เราก็ควรอ่านสัญญาให้เข้าใจก่อน เพื่อที่จะได้รับความเป็นธรรมของผู้บริโภค
5)สิทธิในการได้รับการชดเชยของเสียหาย เมื่อสินค้าเสียหายเราก็จะได้รับค่าชดเชยตามสัญญา

สิทธิของผู้บริโภคคือ?

....กฎหมายรัฐธรรมนูญถือเป็นกฎหมายหลักที่วางหลักการเรื่องนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับการบัญญัติกฎหมายเรื่อง การคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค และการจัดตั้งองค์การอิสระที่ทำหน้าที่ออกกฎเกณฑ์ ระเบียบ และมาตรการต่างๆ เพื่อ บรรลุวัตถุประสงค์ตามกฎหมายในเรื่องนั้นๆ กล่าวคือผู้บริโภคในความหมายทั่วไปย่อมหมายถึงบุคคลทั่วไปที่เกี่ยว ข้องกับกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นผู้อุปโภคบริโภคสินค้า ผู้ใช้บริการของร้านค้าหรือสถานบริการ ในบางกรณีบุคคลเหล่านี้จะได้รับความคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย แต่ในบางกรณีจะต้องเป็นบุคคลที่ระบุไว้ในกฎหมายเฉพาะเรื่องเท่านั้นจึงจะได้รับความคุ้มครอง อาทิเช่น เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ จึงเป็นผู้บริโภคตามความหมายใน “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.๒๕๒๒“, “พระราชบัญญัติการแข่งขันทาง การค้า พ.ศ. ๒๕๔๒“ เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นกฎหมายเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการควบคุมการประกอบการชนิด นั้นๆ กฎหมายสำคัญที่วางหลักการพื้นฐานเรื่องการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในเรื่องการซื้อขายสินค้าและ บริการคือ“พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.๒๕๒๒“ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๔๑


ขอขอบคุณเว็บไซท์ http://mail.hu.ac.th/~s3152024/custom.htm